เครื่องหมายจราจรและอุปกรณ์เซฟตี้สำคัญในการทำงานของเจ้าหน้าที่ อปพร.

เครื่องหมายจราจรและอุปกรณ์เซฟตี้สำคัญในการทำงานของเจ้าหน้าที่ อปพร.   เจ้าหน้าที่ อปพร. หรือ อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน ตามพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ.2550 มาตรา 41 และระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยกิจการอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน พ.ศ.2553 ได้สรุปหน้าที่ของ อปพร. ไว้ว่า ให้ความช่วยเหลือเจ้าพนักงานในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยครอบคลุมภัยทั้งจากไฟไหม้ น้ำท่วม พายุ รวมถึงภัยที่เกิดจากฝีมือมนุษย์ เช่น การลอบวางระเบิด การลอบวางเพลิง เป็นต้น ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ผู้อำนวยการมอบหมายและตามระเบียบที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด โดยก่อนที่จะมาเป็นเจ้าหน้าที่ อปพร. นั้นต้องผ่านการอบรมตามระเบียบของกระทรวงมหาดไทย ที่ว่าด้วยคุณสมบัติของ อปพร.(พ.ศ.2531) ซึ่งจะมี 2 หลักสูตร คือ   หลักสูตรสำหรับผู้ที่ยังไม่เคยผ่านการอบรมหลักสูตร ทสปช. หรือ ไทยอาสาป้องกันชาติ หรือหลักสูตรทบทวนของ อปพร. หลักสูตรสำหรับทบทวนความรู้สำหรับกลุ่ม ทสปช. และผู้ที่เป็น อปพร. อยู่แล้ว นอกจากให้ความช่วยเหลือเจ้าพนักงานในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย อปพร.จะต้องทำหน้าที่ภายใต้คำสั่งของ ผอ.ศูนย์ (ผู้อำนวยการศูนย์ อปพร.) สามารถแจ้งหน้าที่ตามฝ่ายต่าง ๆ ได้ดังนี้ […]

อบรมพนักงานเข้าทำงานใหม่

  อบรมความปลอดภัยพนักงานใหม่คืออะไร การอบรมความปลอดภัยพนักงานใหม่นั้นเป็นการฝึกอบรมให้กับลูกจ้างทุกคนที่เข้าทำงานใหม่ตามกฎหมายซึ่งหลายคนอาจยังไม่แน่ใจเกี่ยวกับการจัดฝึกอบรมให้กับพนักงานเข้าทำงานใหม่ว่าจะต้องทำอย่างไรบ้างถึงจะถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดวันนี้เราจะมาสรุปเกี่ยวกับการจัดฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานสำหรับพนักงานเข้าทำงานใหม่ดังนี้ ชื่อเรียกเกี่ยวกับหลักสูตรไม่ว่าจะเป็น อบรมลูกจ้างใหม่ อบรมพนักงานเข้าทำงานใหม่ อบรมความปลอดภัย 6 ชม. ซึ่งก็จะมีการเรียกต่างๆที่แตกต่างกันไปในประกาศ พรบ.ความปลอดภัย 2554 ไม่ได้มีการระบุชื่อหลักสูตรเพียงแต่บอกเอาไว้ว่า มาตรา ๑๖ ให้นายจ้างจัดให้ผู้บริหาร หัวหน้างาน และลูกจ้างทุกคนได้รับการฝึกอบรม ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน เพื่อให้บริหารจัดการ และดําเนินการ ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานได้อย่างปลอดภัย ในกรณีที่นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทํางาน เปลี่ยนงาน เปลี่ยนสถานที่ทํางาน หรือเปลี่ยนแปลง เครื่องจักรหรืออุปกรณ์ ซึ่งอาจทําให้ลูกจ้างได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพอนามัย ให้นายจ้างจัดให้มีการฝึกอบรมลูกจ้างทุกคนก่อนการเริ่มทํางาน การฝึกอบรมดังกล่าวไม่ว่าจะเป็นบริษัทเอกชน โรงงาน หรือ บริษัทผู้รับเหมา นายจ้างจะต้องจัดให้พนักงานของตนเองได้ฝึกอบรมหลักสูตรนี้ทุกคน และ พนักงานเข้าทำงานใหม่ทุกคนจะต้องมีวุฒิบัตรผ่านการฝึกอบรมเพื่อเป็นหลักฐานยืนยันตามที่กฎหมายกำหนด   หลักสูตร พนักงานเข้าทำงานใหม่ 6 ชั่วโมง มาตรา ๑๖ ให้นายจ้างจัดให้ผู้บริหาร หัวหน้างาน และลูกจ้างทุกคนได้รับการฝึกอบรม ความปลอดภัย อาชีวอนามัย […]

อบรม จป เรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง

หลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย ในการทำงาน อบรม จป หัวหน้างาน, อบรม จป บริหาร, อบรม คปอ, อบรม จป เทคนิค อบรม จป เรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง เรียนรู้บทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับต่างๆ ตามที่กฎหมายกำหนด พร้อมมอบวุฒิบัตรให้ผู้ผ่านการฝึกอบรมทุกคนหลังจบการอบรม ได้เรียนรู้เทคนิคการวางแผนงานให้เกิดความปลอดภัยในองค์กรของตนเองพร้อมทั้งสามารถวิเคราะห์ความเป็นอันตรายต่างๆเพื่อหามาตรการป้องกันได้อย่างมืออาชีพ นิยามอาชีพ : ผู้ประกอบอาชีพนี้ทำหน้าที่แนะนำ กำกับดูแล รับผิดชอบให้พนักงานในสถานประกอบการได้รับความปลอดภัยในการทำงาน และสำรวจตรวจสอบความไม่ปลอดภัยที่อาจเกิดขึ้นได้จากเครื่องจักร อุปกรณ์ และเครื่องมือตลอดจนสภาพแวดล้อมในการทำงาน เสนอให้มีการป้องกัน หรือแก้ไขปรับปรุงสภาพแวดล้อมในสถานประกอบการให้ได้มาตรฐาน ตามกฎหมายความปลอดภัยที่ประกาศใช้โดยกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม จป วิชาชีพ ตาม กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 ข้อ ๑๗ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพต้องมีคุณสมบัติเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (๑) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรีสาขาอาชีวอนามัย หรือเทียบเท่า (๒) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรี และได้ทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคขั้นสูงมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี และผ่านการอบรมและทดสอบตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีประกาศกำหนดจากหน่วยงานที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานรับรอง… เรียกว่ามีคุณสมบัติที่จะขึ้นทะเบียนเป็น จป.วิชาชีพได้ เท่านั้น แต่จะเป็นได้โดยสมบูรณ์ต้องมีการขึ้นทะเบียนกับสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานก่อนครับ ลักษณะของงานที่ทำ […]